ตู้กาแฟหยอดเหรียญ JSK Coffee Vending Machine COF-3
รองรับการบรรจุสินค้า 3 ช่อง (บรรจุผงเครื่องดื่มได้ 3 ชนิด)
เช่น กาแฟ 3 in 1 หรือ ผสมเอง , ชา, โกโก้, โอวันติน, ไมโล, นม, เครื่องดื่มธัญพืช เป็นต้น
การทดสอบ Review ตู้กาแฟหยอดเหรียญ
สินค้านำเข้าจากประเทศเกาหลี ใช้งานง่าย เหมาะสำหรับ สำนักงาน, บริษัท, โรงงาน, ห้างสรรพสินค้า, ตลาด, แหล่งท่องเที่ยว เป็นต้น
สามารถตั้งราคาจำหน่ายได้ หรือ ตั้งค่าจำหน่าย ฟรี สำหรับสวัสดิการพนักงาน
รองรับการจำหน่ายเป็นแก้วกระดาษภายใน หรือ ผู้ใช้บริการนำแก้วมาเองได้
โรงงานผลิต-จำหน่าย-ให้เช่า ผลิตภัณฑ์หยอดเหรียญ ทุกประเภทครบวงจร ภายใต้แบรนด์ เจเอสเค (JSK), เรนโบว์ (Rainbow), เจ็ทโซ่ (JetSo) ฯลฯ | JSK Vending is The Biggest Vending Machine Manufacturer and Distributor in Thailand.
วันเสาร์ที่ 30 กรกฎาคม พ.ศ. 2554
วันจันทร์ที่ 25 กรกฎาคม พ.ศ. 2554
ผลกระทบต่อธุรกิจ SMEs จากนโยบายค่าจ้างแรงงานขั้นต่ำ 300 บาท/วัน
นโยบายการปรับเพิ่มค่าจ้างแรงงานขั้นต่ำเป็น 300 บาท/วัน ของรัฐบาลใหม่ภายใต้การนำของพรรคเพื่อไทย นับเป็นประเด็นที่มีการพูดถึงกันมากที่สุดในเวลานี้ โดยหลายฝ่ายมองว่าผู้ที่จะได้รับผลกระทบจากการขึ้นค่าแรงขั้นต่ำคือ “ผู้ประกอบการ SMEs”
ปัจจุบันประเทศไทยมีผู้ประกอบการ SMEs จำนวนกว่า 2.9 ล้านกิจการ คิดเป็นร้อยละ 99.6 ของจำนวนวิสาหกิจทั้งหมด โดยอยู่ในภาคการผลิต จำนวน 545,098 กิจการ ภาคการค้าและซ่อมบำรุง จำนวน 1,383,391 กิจการ และภาคบริการ จำนวน 983,610 กิจการ ก่อให้เกิดการจ้างงานกว่า 10.5 ล้านคน หรือคิดเป็นร้อยละ 77.8 ของการจ้างงานรวมทั้งประเทศ สร้างมูลค่าเพิ่มทางเศรษฐกิจ หรือ GDP SMEs ถึง 3.75 ล้านล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 37.1 ของมูลค่าเพิ่มทางเศรษฐกิจของประเทศ
จากการศึกษาของสำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (สสว.) ภายใต้โครงการจัดทำตารางปัจจัยการผลิตและผลผลิตของ SMEs (SME I/O Table) พบว่า โครงสร้างต้นทุนค่าใช้จ่ายด้านแรงงานและเงินเดือนของ SMEs เฉลี่ยคิดเป็นร้อยละ 16.2 ของต้นทุนปัจจัยการผลิตทั้งหมด ดังนั้นหากค่าจ้างแรงงานขั้นต่ำเพิ่มขึ้นร้อยละ 1 จะส่งผลให้ต้นทุนค่าใช้จ่ายด้านแรงงานเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.16 ซึ่งผลจากการปรับค่าจ้างแรงงานครั้งล่าสุดตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 1 มกราคม 2554 ที่ผ่านมา มีการปรับค่าจ้างแรงงานสูงขึ้นโดยเฉลี่ยร้อยละ 6.4 ส่งผลให้ต้นทุนของกิจการในด้านค่าใช้จ่ายแรงงานเพิ่มสูงขึ้นเฉลี่ยร้อยละ 1.03 โดยเหตุผลในการปรับเพิ่มมี 2 ประการ คือ ช่วยให้แรงงานรอดพ้นจากความยากจนที่รุนแรง และมีรายได้ใกล้เคียงกับค่าใช้จ่ายตามอัตภาพ และช่วยให้แรงงานมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นภายใต้ภาวะเศรษฐกิจที่เติบโต ซึ่งปัจจุบันค่าจ้างแรงงานขั้นต่ำเฉลี่ยเท่ากับ 175.8 บาท/วัน
ดังนั้น นโยบายการขึ้นค่าแรงงานขั้นต่ำเป็น 300 บาท/วัน เท่ากันทั่วประเทศ จึงส่งผลกระทบต่อภาคธุรกิจ SMEs อย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ โดยกรุงเทพมหานคร ซึ่งมีการจ้างงานรวมทั้งสิ้น 3.3 ล้านคน หากมีการขึ้นค่าแรงเป็น 300 บาท/วัน จะทำให้ธุรกิจ SMEs มีค่าแรงงานเพิ่มขึ้นร้อยละ 39.5 และต้องแบกรับต้นทุนค่าใช้จ่ายด้านแรงงานเพิ่มขึ้นร้อยละ 6.4 และเมื่อพิจารณาถึงจังหวัดหลักๆ ที่มีการจ้างงานในระดับสูง พบว่า ร้อยเอ็ด และ ขอนแก่น เป็นจังหวัดที่จะมีการปรับขึ้นของค่าจ้างแรงงานและต้นทุนสูงที่สุด รองลงมาคือ อุดรธานี และอุบลราชธานี ขณะที่ภูเก็ต เป็นจังหวัดที่จะมีการปรับขึ้นของค่าจ้างแรงงานและต้นทุนต่ำที่สุด (รายละเอียดตามตาราง)
ตาราง : แสดงการเพิ่มขึ้นของค่าแรงงานและต้นทุน ในพื้นที่หลักที่มีการจ้างแรงงาน
กรณีที่มีการปรับเพิ่มค่าแรงขั้นต่ำเป็น 30 บาท/วัน
ที่มา : จากการศึกษาของ สสว. ภายใต้โครงการ SME I/O Table
เมื่อพิจารณาเป็นรายสาขาธุรกิจ (คิดค่าเฉลี่ยทุกรายสาขาธุรกิจมีการจ่ายค่าจ้างขั้นต่ำ 215 บาท/วัน การปรับค่าจ้างขั้นต่ำเป็น 300 บาท/วัน ส่งผลให้ค่าแรงเพิ่มขึ้นร้อยละ 39.5) พบว่า ธุรกิจที่มีการใช้แรงงานเป็นจำนวนมากต้องแบกรับภาระต้นทุนที่เพิ่มสูงขึ้นภาคการผลิต ธุรกิจที่จะมีต้นทุนเพิ่มขึ้นในระดับสูง ได้แก่ ธุรกิจผลิตเฟอร์นิเจอร์หวาย เพิ่มขึ้นร้อยละ 10.2 รองลงมา คือ ธุรกิจผลิตพลอยเจียรไน เพิ่มขึ้นร้อยละ 7.6 ธุรกิจผลิตเครื่องนุ่งห่มและผลิตเครื่องกระเป๋าหนัง เพิ่มขึ้นร้อยละ 7.3 ธุรกิจผลิตเฟอร์นิเจอร์ไม้ เพิ่มขึ้นร้อยละ 5.8 และธุรกิจการฟอกย้อมพิมพ์ลายผ้า เพิ่มขึ้นร้อยละ 5.5 ภาคบริการ ธุรกิจที่จะมีต้นทุนเพิ่มขึ้นในระดับสูง ได้แก่ ธุรกิจโรงแรม เพิ่มขึ้นร้อยละ 12.0 รองลงมาคือ ธุรกิจรับเหมาก่อสร้างบ้าน และ ธุรกิจการขนส่งทางบก เพิ่มขึ้นร้อยละ 9.8 และ 8.0 ตามลำดับ
อย่างไรก็ดี นโยบายดังกล่าวจะส่งผลดีต่อผู้ประกอบการ SMEs และผู้ใช้แรงงาน โดยในส่วนของผู้ใช้แรงงานจะมีรายได้เพิ่มขึ้นส่งผลให้มีกำลังซื้อเพิ่มมากขึ้น ผู้ประกอบการ SMEs จะปรับตัวหันมาใช้ความรู้และฝีมือในการประกอบธุรกิจมากขึ้น ให้ความสำคัญกับการจ้างแรงงานที่มีความรู้และมีประสบการณ์มากขึ้น เป็นการเพิ่มประสิทธิภาพและผลิตภาพแรงงาน ซึ่งเป็นผลดีต่อขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศในระยะต่อไป นอกจากนี้การปรับเพิ่มค่าจ้างยังเป็นไปตามแนวโน้มของประเทศที่จะต้องปรับเพิ่มค่าจ้างแรงงานอยู่แล้วเนื่องจากอยู่ในภาวะขาดแคลนแรงงานทั้งระดับไร้ฝีมือและมีฝีมือ ในขณะที่ผู้ประกอบการจะมีต้นทุนเพิ่มขึ้น ซึ่งจะส่งผลให้ราคาสินค้าและบริการมีแนวโน้มปรับตัวสูงขึ้น ภาวะเงินเฟ้อจากต้นทุนการผลิตที่เพิ่มขึ้นอาจกดดันให้ผู้ประกอบการหันไปใช้เครื่องจักร หรือแรงงานต่างด้าวทดแทน
สสว. เห็นว่าเพื่อลดผลกระทบจากการปรับค่าแรงขั้นต่ำเป็น 300 บาท/วัน อาจพิจารณาดำเนินการอย่างค่อยเป็นค่อยไปในกลุ่มที่มีความพร้อมก่อน เช่น ผู้ประกอบการที่จำเป็นต้องใช้แรงงานกึ่งฝีมือหรือมีประสบการณ์ ขณะเดียวกันต้องมีการดำเนินมาตรการส่งเสริม สนับสนุนภาคธุรกิจ SMEs ในด้านต่างๆ ที่ชัดเจน เช่น ที่ประเทศสิงคโปร์ซึ่งมีอัตราค่าจ้างแรงงานอยู่ในระดับสูง รัฐบาลสิงคโปร์ได้ให้เงินสนับสนุนแบบให้เปล่าแก่ SMEs ที่มีศักยภาพ เพื่อลดอุปสรรคที่เกิดขึ้นจากอัตราค่าจ้างแรงงาน เป็นต้น รวมทั้งการสนับสนุนการเพิ่มประสิทธิภาพแรงงาน โดยจัดการอบรมเฉพาะทางให้กับธุรกิจแต่ละสาขาสำหรับลูกจ้างรายเดิม หรือการอบรมเตรียมความพร้อมให้กับแรงงานรายใหม่
ทั้งนี้เพื่อให้ผู้ประกอบการ SMEs ที่เป็นกลุ่มเป้าหมายสำคัญที่จะได้รับผลกระทบจากนโยบายดังกล่าว สามารถดำเนินธุรกิจอยู่ได้อย่างสมดุลและยั่งยืน เป็นรากฐานของระบบเศรษฐกิจไทยต่อไป
ปัจจุบันประเทศไทยมีผู้ประกอบการ SMEs จำนวนกว่า 2.9 ล้านกิจการ คิดเป็นร้อยละ 99.6 ของจำนวนวิสาหกิจทั้งหมด โดยอยู่ในภาคการผลิต จำนวน 545,098 กิจการ ภาคการค้าและซ่อมบำรุง จำนวน 1,383,391 กิจการ และภาคบริการ จำนวน 983,610 กิจการ ก่อให้เกิดการจ้างงานกว่า 10.5 ล้านคน หรือคิดเป็นร้อยละ 77.8 ของการจ้างงานรวมทั้งประเทศ สร้างมูลค่าเพิ่มทางเศรษฐกิจ หรือ GDP SMEs ถึง 3.75 ล้านล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 37.1 ของมูลค่าเพิ่มทางเศรษฐกิจของประเทศ
จากการศึกษาของสำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (สสว.) ภายใต้โครงการจัดทำตารางปัจจัยการผลิตและผลผลิตของ SMEs (SME I/O Table) พบว่า โครงสร้างต้นทุนค่าใช้จ่ายด้านแรงงานและเงินเดือนของ SMEs เฉลี่ยคิดเป็นร้อยละ 16.2 ของต้นทุนปัจจัยการผลิตทั้งหมด ดังนั้นหากค่าจ้างแรงงานขั้นต่ำเพิ่มขึ้นร้อยละ 1 จะส่งผลให้ต้นทุนค่าใช้จ่ายด้านแรงงานเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.16 ซึ่งผลจากการปรับค่าจ้างแรงงานครั้งล่าสุดตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 1 มกราคม 2554 ที่ผ่านมา มีการปรับค่าจ้างแรงงานสูงขึ้นโดยเฉลี่ยร้อยละ 6.4 ส่งผลให้ต้นทุนของกิจการในด้านค่าใช้จ่ายแรงงานเพิ่มสูงขึ้นเฉลี่ยร้อยละ 1.03 โดยเหตุผลในการปรับเพิ่มมี 2 ประการ คือ ช่วยให้แรงงานรอดพ้นจากความยากจนที่รุนแรง และมีรายได้ใกล้เคียงกับค่าใช้จ่ายตามอัตภาพ และช่วยให้แรงงานมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นภายใต้ภาวะเศรษฐกิจที่เติบโต ซึ่งปัจจุบันค่าจ้างแรงงานขั้นต่ำเฉลี่ยเท่ากับ 175.8 บาท/วัน
ดังนั้น นโยบายการขึ้นค่าแรงงานขั้นต่ำเป็น 300 บาท/วัน เท่ากันทั่วประเทศ จึงส่งผลกระทบต่อภาคธุรกิจ SMEs อย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ โดยกรุงเทพมหานคร ซึ่งมีการจ้างงานรวมทั้งสิ้น 3.3 ล้านคน หากมีการขึ้นค่าแรงเป็น 300 บาท/วัน จะทำให้ธุรกิจ SMEs มีค่าแรงงานเพิ่มขึ้นร้อยละ 39.5 และต้องแบกรับต้นทุนค่าใช้จ่ายด้านแรงงานเพิ่มขึ้นร้อยละ 6.4 และเมื่อพิจารณาถึงจังหวัดหลักๆ ที่มีการจ้างงานในระดับสูง พบว่า ร้อยเอ็ด และ ขอนแก่น เป็นจังหวัดที่จะมีการปรับขึ้นของค่าจ้างแรงงานและต้นทุนสูงที่สุด รองลงมาคือ อุดรธานี และอุบลราชธานี ขณะที่ภูเก็ต เป็นจังหวัดที่จะมีการปรับขึ้นของค่าจ้างแรงงานและต้นทุนต่ำที่สุด (รายละเอียดตามตาราง)
ตาราง : แสดงการเพิ่มขึ้นของค่าแรงงานและต้นทุน ในพื้นที่หลักที่มีการจ้างแรงงาน
กรณีที่มีการปรับเพิ่มค่าแรงขั้นต่ำเป็น 30 บาท/วัน
จังหวัด | ค่าจ้างแรงงานปัจจุบัน (บาท/วัน) | ค่าแรงงานเพิ่มขึ้น (%) | ต้นทุนเพิ่มขั้น (%) |
กรุงเทพมหานคร | 215 | 39.5 | 6.4 |
ขอนแก่น | 167 | 80.0 | 13.0 |
ชลบุรี | 196 | 53.0 | 8.6 |
เชียงใหม่ | 180 | 66.7 | 10.8 |
นครปฐม | 215 | 39.5 | 6.4 |
นครราชสีมา | 183 | 64.0 | 10.4 |
นครศรีธรรมราช | 174 | 72.4 | 11.7 |
ปทุมธานี | 215 | 39.5 | 6.4 |
ภูเก็ต | 221 | 35.7 | 5.8 |
ร้อยเอ็ด | 166 | 80.7 | 13.0 |
สงขลา | 176 | 70.5 | 11.4 |
สมุทรปราการ | 215 | 39.5 | 6.4 |
สมุทรสงคราม | 172 | 74.4 | 12.0 |
สมุทรสาคร | 215 | 39.5 | 6.4 |
สุราษฎร์ธานี | 172 | 74.4 | 12.0 |
อุดรธานี | 171 | 75.4 | 12.2 |
อุบลราชธานี | 171 | 75.4 | 12.2 |
เมื่อพิจารณาเป็นรายสาขาธุรกิจ (คิดค่าเฉลี่ยทุกรายสาขาธุรกิจมีการจ่ายค่าจ้างขั้นต่ำ 215 บาท/วัน การปรับค่าจ้างขั้นต่ำเป็น 300 บาท/วัน ส่งผลให้ค่าแรงเพิ่มขึ้นร้อยละ 39.5) พบว่า ธุรกิจที่มีการใช้แรงงานเป็นจำนวนมากต้องแบกรับภาระต้นทุนที่เพิ่มสูงขึ้นภาคการผลิต ธุรกิจที่จะมีต้นทุนเพิ่มขึ้นในระดับสูง ได้แก่ ธุรกิจผลิตเฟอร์นิเจอร์หวาย เพิ่มขึ้นร้อยละ 10.2 รองลงมา คือ ธุรกิจผลิตพลอยเจียรไน เพิ่มขึ้นร้อยละ 7.6 ธุรกิจผลิตเครื่องนุ่งห่มและผลิตเครื่องกระเป๋าหนัง เพิ่มขึ้นร้อยละ 7.3 ธุรกิจผลิตเฟอร์นิเจอร์ไม้ เพิ่มขึ้นร้อยละ 5.8 และธุรกิจการฟอกย้อมพิมพ์ลายผ้า เพิ่มขึ้นร้อยละ 5.5 ภาคบริการ ธุรกิจที่จะมีต้นทุนเพิ่มขึ้นในระดับสูง ได้แก่ ธุรกิจโรงแรม เพิ่มขึ้นร้อยละ 12.0 รองลงมาคือ ธุรกิจรับเหมาก่อสร้างบ้าน และ ธุรกิจการขนส่งทางบก เพิ่มขึ้นร้อยละ 9.8 และ 8.0 ตามลำดับ
อย่างไรก็ดี นโยบายดังกล่าวจะส่งผลดีต่อผู้ประกอบการ SMEs และผู้ใช้แรงงาน โดยในส่วนของผู้ใช้แรงงานจะมีรายได้เพิ่มขึ้นส่งผลให้มีกำลังซื้อเพิ่มมากขึ้น ผู้ประกอบการ SMEs จะปรับตัวหันมาใช้ความรู้และฝีมือในการประกอบธุรกิจมากขึ้น ให้ความสำคัญกับการจ้างแรงงานที่มีความรู้และมีประสบการณ์มากขึ้น เป็นการเพิ่มประสิทธิภาพและผลิตภาพแรงงาน ซึ่งเป็นผลดีต่อขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศในระยะต่อไป นอกจากนี้การปรับเพิ่มค่าจ้างยังเป็นไปตามแนวโน้มของประเทศที่จะต้องปรับเพิ่มค่าจ้างแรงงานอยู่แล้วเนื่องจากอยู่ในภาวะขาดแคลนแรงงานทั้งระดับไร้ฝีมือและมีฝีมือ ในขณะที่ผู้ประกอบการจะมีต้นทุนเพิ่มขึ้น ซึ่งจะส่งผลให้ราคาสินค้าและบริการมีแนวโน้มปรับตัวสูงขึ้น ภาวะเงินเฟ้อจากต้นทุนการผลิตที่เพิ่มขึ้นอาจกดดันให้ผู้ประกอบการหันไปใช้เครื่องจักร หรือแรงงานต่างด้าวทดแทน
สสว. เห็นว่าเพื่อลดผลกระทบจากการปรับค่าแรงขั้นต่ำเป็น 300 บาท/วัน อาจพิจารณาดำเนินการอย่างค่อยเป็นค่อยไปในกลุ่มที่มีความพร้อมก่อน เช่น ผู้ประกอบการที่จำเป็นต้องใช้แรงงานกึ่งฝีมือหรือมีประสบการณ์ ขณะเดียวกันต้องมีการดำเนินมาตรการส่งเสริม สนับสนุนภาคธุรกิจ SMEs ในด้านต่างๆ ที่ชัดเจน เช่น ที่ประเทศสิงคโปร์ซึ่งมีอัตราค่าจ้างแรงงานอยู่ในระดับสูง รัฐบาลสิงคโปร์ได้ให้เงินสนับสนุนแบบให้เปล่าแก่ SMEs ที่มีศักยภาพ เพื่อลดอุปสรรคที่เกิดขึ้นจากอัตราค่าจ้างแรงงาน เป็นต้น รวมทั้งการสนับสนุนการเพิ่มประสิทธิภาพแรงงาน โดยจัดการอบรมเฉพาะทางให้กับธุรกิจแต่ละสาขาสำหรับลูกจ้างรายเดิม หรือการอบรมเตรียมความพร้อมให้กับแรงงานรายใหม่
ทั้งนี้เพื่อให้ผู้ประกอบการ SMEs ที่เป็นกลุ่มเป้าหมายสำคัญที่จะได้รับผลกระทบจากนโยบายดังกล่าว สามารถดำเนินธุรกิจอยู่ได้อย่างสมดุลและยั่งยืน เป็นรากฐานของระบบเศรษฐกิจไทยต่อไป
ที่มา: สำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม(สสว.)
แนะนำ Blog JSK Vending Machine
Blog JSK Vending Machine เป็น Blog ใหม่ ที่สร้างขึ้นเพื่อเผยแพร่บทความเกี่ยวกับธุรกิจหยอดเหรียญ
สร้างขึ้นเมื่อวันที่ 25 ก.ค. 2554 (New Blog Create On 25 July 2011)
ข่าวเกี่ยวกับทำธุรกิจหยอดเหรียญประเภทต่างๆ
สเปคสินค้าหยอดเหรียญแต่ละประเภทที่ลูกค้า หรือ ผู้ลงทุน ต้องศึกษาก่อนทำการลงทุนจริงๆ
วิธีการคำนวนจุดคุ้มทุน วิธีการเลือกซื้อสินค้า ลงทุนให้เหมาะสมกับทำเล เพื่อสร้างกำไรสูงสุด
สร้างขึ้นเมื่อวันที่ 25 ก.ค. 2554 (New Blog Create On 25 July 2011)
ข่าวเกี่ยวกับทำธุรกิจหยอดเหรียญประเภทต่างๆ
สเปคสินค้าหยอดเหรียญแต่ละประเภทที่ลูกค้า หรือ ผู้ลงทุน ต้องศึกษาก่อนทำการลงทุนจริงๆ
วิธีการคำนวนจุดคุ้มทุน วิธีการเลือกซื้อสินค้า ลงทุนให้เหมาะสมกับทำเล เพื่อสร้างกำไรสูงสุด
ตู้น้ำดื่มเรนโบว์ สะอาด บริสุทธิ์ ความคุ้มค่าที่น่าลงทุน
นิตยสาร แก้จน โดย เวิร์คพอยท์ พับลิชชิ่ง (Workpoint Publishing)
ปีที่ 2 ฉบับที่ 21 เดือนกรกฎาคม 2548 หน้าที่ 22
น้ำ ถือเป็นปัจจัยหนึ่งที่มีความสำคัญต่อการดำรงชีวิตของผู้คนเป็นอย่างมาก โดยเฉพาะในปัจจุบันความสำคัญของน้ำไม่ได้จำกัดอยู่แค่การเป็นน้ำสำหรับดื่มและใช้เท่านั้น แต่ยังสามารถนำมาสร้างเป็นอาชีพได้ เริ่มตั้งแต่น้ำดื่มบรรจุขวด น้ำถัง ซึ่งคุณภาพและราคาก็จะแตกต่างกันไปจนเมื่อไม่กี่ปีที่ผ่านมา ได้มีการพัฒนารูปแบบออกมาเป็น “ตู้น้ำดื่มหยอดเหรียญ” เพื่อมุ่งตอบสนองต่อวิถีชีวิตของผู้บริโภคที่เปลี่ยนแปลงไปรวมถึงการเป็นอีกหนึ่งช่องทางอาชีพสำหรับผู้ที่ต้องการมีธุรกิจเป็นของตนเอง
บริษัท เจ เอส เค โปรโมชั่น จำกัด โดย คุณสุทธิชัย นานานุกูล นอกจากมีประสบการณ์ทางด้านการรับเหมาติดตั้งระบบประปา-สุขาภิบาล ระบบกรองน้ำ และติดตั้งระบบท่อจ่ายน้ำการประปานครหลวงมากกว่า 20 ปียังเป็นอีกผู้หนึ่งที่ผันตนเองมาจับธุรกิจตู้น้ำดื่มหยอดเหรียญภายใต้แบรนด์ “เรนโบว์” (Rainbow) รวมทั้งเป็นผู้นำเข้าและจัดจำหน่ายกระบอกไส้กรอง เครื่องสูบน้ำและอุปกรณ์ประกอบตู้น้ำดื่มทุกชนิด ตลอดจนเป็นเจ้าของลิขสิทธิ์โครงตู้น้ำดื่มไฟเบอร์กลาสที่ได้จดทะเบียนสิทธิบัตรการออกแบบผลิตภัณฑ์ต่อกรมทรัพย์สินทางปัญญาเรียบร้อยแล้ว
สำหรับความโดดเด่นของตู้น้ำดื่มหยอดเหรียญ “เรนโบว์” นอกจากมีให้เลือกทั้ง 2 ระบบ คือ ระบบ
รีเวิร์ส ออสโมซิส หรือ RO (Reverse Osmosis) และระบบอัลตร้า ออสโมซิส หรือ UO (Ultra Osmosis)
ยังมีคุณสมบัติในการกรองถึง 7 ขั้นตอน, มีพัดลมระบายความชื้น, ฆ่าเชื้อโรคด้วยยูวี, มีระบบโอโซน เพื่อปรับสมดุลและเพิ่มออกซิเจนให้กับน้ำ อีกทั้งมีกำลังผลิตวันละ 1,000-3,000 ลิตร
และเนื่องจากตู้น้ำดื่มหยอดเหรียญ “เรนโบว์” มีทั้งระบบ RO และ UO ซึ่งมีความแตกต่างกันอยู่บ้าง คือ ระบบ RO เป็นระบบที่สามารถกรองน้ำได้ละเอียดมากใกล้เคียงกับอณูของน้ำ แต่ในขณะเดียวกัน กลับกรองเอาแร่ธาตุต่างๆ ที่จำเป็นต่อร่างกายออกไปด้วย ส่วนระบบ UO ถือได้ว่าเป็นระบบที่บริษัทฯ ได้ทำการวิจัยและพัฒนาซึ่งปัจจุบันบริษัทฯ เป็นผู้นำตลาดตู้น้ำดื่มหยอดเหรียญระบบ UO เพื่อให้ผู้บริโภคได้ดื่มน้ำสะอาดมีคุณภาพมากขึ้นกว่าระบบแรก ด้วยคุณสมบัติการกรองที่มีความละเอียด 0.01 ไมครอน จึงสามารถกรองเอาเชื้อโรค แบคทีเรีย ไวรัส และสารพิษต่างๆ ออกได้หมด แต่ยังคงไว้ด้วยแร่ธาตุที่มีประโยชน์ต่อร่างกาย เช่น แคลเซียม ฟลูออไรด์ คลอไรด์ แมกนีเซียม ไนเตรต และไบคาร์บอเนต ที่ได้ผ่านการรับรองคุณภาพตามมาตรฐานจากองค์การอาหาร และยาของสหรัฐอเมริกา และผ่านการตรวจวิเคราะห์น้ำดื่มจากกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์กระทรวงสาธารณสุข และการประปานครหลวง ดังนั้น จึงมั่นใจได้ว่าเป็นน้ำสะอาด มีแร่ธาตุ เหมาะสมแก่การบริโภคมากที่สุด
นอกจากนี้ ด้านการลงุทนการกรองด้วยระบบ UO ยังมีต้นทุนค่าน้ำต่ำกว่าและไม่มีการทิ้งน้ำในระบบ คือ น้ำเข้า 1,000 ลิตร ก็สามารถกดได้ 1,000 ลิตร ในขณะที่ระบบ RO จะมีการทิ้งน้ำประมาณ 20-60 เปอร์เซ็นต์ ทำให้น้ำที่กดได้จาก 1,000 ลิตร ก็จะเหลือเพียง 400-800 ลิตร ซึ่งความคุ้มค่าในระบบ UO นับว่ามีความสำคัญ ต่อการประกอบการพิจารณาลงทุนไม่น้อยทีเดียว เพราะจะมีส่วนเกี่ยวข้องไปถึงค่าใช้จ่าย อันหมายถึงต้นทุนที่ ลดลง ระยะเวลาการคืนทุนที่เร็วขึ้น รวมถึงผลกำไรที่จะได้รับในจำนวนที่มากขึ้นด้วย
และนอกจากตู้น้ำดื่มหยอดเหรียญ “เรนโบว์” แล้ว ทางบริษัทฯ ยังมีธุรกิจประเภทหยอดเหรียญที่น่าลงทุนอีกมากมาย ไม่ว่าจะเป็นเครื่องซักผ้าหยอดเหรียญ, คาราโอเกะหยอดเหรียญ, อินเตอร์เน็ตหยอดเหรียญ, ตู้เกม ฯลฯ โดยบริษัทฯ ได้จัดให้มีรูปแบบการลงทุนไว้ 2 รูปแบบ ด้วยกัน คือ แบบแรกเป็นลักษณะของธุรกิจแฟรนไชส์ โดยบริษัทฯ มีบริการหาทำเลที่ตั้งให้กับลูกค้าฟรี ส่วนแบบที่สองเป็นลักษณะของการวางแบ่งเปอร์เซ็นต์ เป็นการ นำเครื่องหยอดเหรียญไปทดลองวางดูก่อนว่าธุรกิจสามารถไปได้หรือไม่ แล้วจึงมาตกลงทำธุรกิจกันอย่างจริงจังอีกครั้ง
***สำหรับผู้ที่สนใจ บริษัท เจ เอส เค โปรโมชั่น จำกัด ยินดีเปิดกว้างให้ทุกท่านก้าวเข้ามาร่วมแบ่งปัน และ เป็นส่วนหนึ่งทางการตลาด สนใจธุรกิจติดต่อได้ที่ บริษัท เจ เอส เค โปรโมชั่น จำกัด โทรศัพท์ 0-2245-7575-9 หรือชมรายละเอียดได้ที่ www.jsk2545.com
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)